วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เสื้อฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 6

รัชกาลที่ 6

แบบเสื้อในปลายรัชกาลที่5
             แบบเสื้อช่วงแรกยังคงพัฒนาต่อจากสมัยรัชกาลที่ 5 และมีผู้สวมใส่ในช่วงแรกๆและในหมู่ผู้สูงอายุ ลักษณะเป็นเสื้อคอเว้าลึกแต่ข้างในจะเป็นเสื้อคอสูง สะพายผ้าแพร นุ่งโจง

แบบเสื้อสมัยต้นรัชกาล


ซ้าย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี
ขวาบน เจ้าคุณพระประยูรวงศ์
ขวาล่าง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี


แบบเสื้อของฝรั่ง

เสื้อทรงกิโมโน
              ในยุโรปมีกระแสแฟชั่นที่เรียกว่า orientalism ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากศิลปะเอเชียตะวันออกโดยเฉพาะญี่ปุ่น โดยมีดีไซน์เนอร์ Paul Poiret เป็นผู้นำ โดยเฉพาะเสื้อกิโมโน เสื้อในยุคนี้นิยมผ่าหน้าและมีความยาวคลุมสะโพก นุ่งกับโจงกระเบนเอวสูงเหตุที่นุ่งโจงกระเบนเอวสูงเพราะเอวของเสื้อแบบกิโมโนนั้นอยู่สูงอันเป็นกระแสแฟชั่นในยุโรป ภายหลังเมื่อเริ่มนุ่งซิ่นกันความยาวของซิ่นจะสูงประมาณเหนือตาตุ่ม และนิยมเอาสายสร้อยมาคาดผม สายสะพายแพรเริ่มหายไปในช่วงนี้เพราะเสื้อตัวหลวมขึ้น ภายหลังนั้นนิยมนุ่งซิ่นอันแบบพระราชนิยมในร. 6
(เกล้ามวย นุ่งซิ่น และฟันขาวเป็นแบบพระราชนินมของร.6 เรื่องการนุ่งซิ่นนั้นมาทีหลังสุดราวปีพศ.2463 โดยมีพระวรกัญญาปทานเป็นผู้นำความนิยมในการนุ่งซิ่นนั้นจำกัดแค่ในหมู่ชาวราชสำนักและพวกข้าราชการเท่านั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงนุ่งโจงห่มผ้าแถบกันอยู่ ส่วนการไว้ผมยาวนั้นคือไว้ผมให้ยาวกว่าทรงดอกกระทุ่มในร.๕ ซึ่งให้ไว้ยาวดัดลอนออกไปทางฝรั่ง ภายหลังนิยมไว้ผมบ๊อบกันตามอย่างตะวันตก )


ภาพในหนังสือที่ระลึกสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องพระราชนิยมการไว้ผมยาว

ช่วงแรกยังคงไว้ผมยาวดัด


ภายหลังจึงมีการนุ่งซิ่นอันเป็นแบบพระราชนิยมโดยสมบูรณ์


ซ้ายบน
ซ้ายล่าง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา
ขวา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี


ละครพูดเรื่องโพงพาง ราวต้นรัชกาล

พระวรกัญญาปทาน ผู้นำแฟชั่นการนุ่งซิ่น ภาพซ้ายไว้ผมมวยเสียบปิ่น


พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงนุ่งซิ่น


แบบเสื้อคลุมตะโพกของฝรั่ง


แบบเสื้อคลุมตะโพกแต่ 3 ชุดนี้เป็นชุดราตรีชายจะยาวกว่าชุดกลางวัน
สังเกตุว่าทั้ง  3ตัว เป็นเสื้อผ่าหน้าเหมือนกิโมโน

เสื้อทรงถังเหล้า
           ช่วงนี้กินเวลาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คศ. 1918 ถึงประมาณปี 1925 (พศ. 2461-2468) ช่วงนี่นี้สตรีมีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมเพราะผู้ชายต้องออกไปรบในสงครามเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็เรียบง่ายและมีความทะมัดทะแมงมากขึ้นถึงสงครามจะมีแต่ในยุโรปแต่ส่งผลต่อแฟชั่นในประเทศไทยถึงแม้สตรีไทยจะอยู่เย้าเฝ้าเรือนไม่ได้ทำงานแบบสตรียุโรป  แบบเสื้อใหม่นั้นศัพท์แฟชั่นเรียกเสื้อทรงถังเหล้า(barrel shape) ถึงจะมีการเข้ารูปแต่ก็เป็นแบบหลวมๆ ผ้าซิ่นในช่วงนี้จะนุ่งยาวประมาณตาตุ่ม ช่วงนี้   สตรีไว้ผมบ๊อบสั้นกัน
           แบบเสื้อถังเหล้าใส่กันเรื่อยมาจนถึงประมาณกลางยุค 1920 (พศ.2463) เสื้อนั้นจะหลวมมากขึ้นและแจนจะเป็นแขนลำปกปิดหัวไหลเล็กน้อย ระดับของผ้าซิ่นจะค่อยๆสูงขึ้นๆ ช่วงนี้สตรีไทยมีการนำชุดเดรสฝรั่งมาใส่ในงานกลางคืนกันแล้ว

ซ้าย สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์สจี พระวรชายา
ขวา พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทั้งสองพระองค์ทรงชุดแบบตะวันตก

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินประพาสมลายู



แบบเสื้อปลายรัชกาลแขนจะเกือบคลุมไหล่




เจ้าจอมและพระราชธิดาในร.5 สังเกตุว่สคนรุ่นก่อนยังคงขนบเดิมแบบสมัยร.5
ไม่ได้ตามแบบพระราชนิยม



แบบเดรสของฝรั่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น