สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงสไบปักไม่ทรงเสื้อตามแบบสตรีในสมัยต้นรัชกาลที่ 5
สวมเสื้อห่มสไบทับ
ยุคก่อนหน้าสตรีไทยห่มสไบตัวเปล่า ช่วงต้นรัชกาลเมื่องานราชาภิเษกปี2416โปรดเกล้าให้สวมเสื้อเลิกนุ่งจีบ เปลี่ยนมานุ่งโจง จะนุ่งจีบเมื่อแต่งเต็มยศใหญ่เท่านั้นช่วงนี่สตรีไทยหันมาไว้ผมยาวตามพระราชดำริของร.5 นำโดยเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ลักษณะของเสื้อนั้นเป็นเสื้ิอฝรั่งเข้ารูปเป็นแบบเรียบๆห่มสไบอัดกลีบแถบกว้าง
ในพระราชพิธีใหญ่ ในวันธรรมดา
สมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้า ในฉลองพระองค์แขนยาวห่มสไบปักเต็มยศ
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
เจ้าคุณพระประยูรวงศ์
แบบเสื้อฝรั่งเข้ารูปแขนพองเล็กน้อย
แบบเสื้อฝรั่งเข้ารูปแขนพองเล็กน้อย
เสื้อประดับลูกไม้
เป็นเสื้อที่มีการระบายลูกไม้เริ่มใช้เมื่อใดไม่ทราบแน่ชัดน่าจะราวพศ.2425แต่คาดว่าเข้ามาพร้อมกับห้างฝรั่งซึ่งก่อนหน้าสตรีไทยใส่เสื้อเรียบๆเท่านั่น เมื่อเสื้อมีการประดับลูกไม้มากขึ้นสไบแพรจึงแคบลงกลายเป็นสายสะพายไปโดยปริยาย ส่วนผมนั้นตัดสั้นเป็นทรงเรียกทรงดอกกระทุ่มจะหวีแสกหรือเสยก็ได้
พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ
เสื้อประดับลูกไม้ของฝรั่ง
เสื้อแขนพองแบบขาหมูแฮม
จัดว่าเป็นสัญลักษณ์ของยุคนั้นเลยก็ว่าได้ ภาษาอังกฤษเรียก lego' mutton sleeve แปลว่าขาแกะแต่คนไทยกินหมูมากกว่าแกะจึงเรียกเป็นขาหมูแฮม เป็นที่นิยมกันในปี 1895 (พศ.2438) เริ่มหายไปราว ปี 1906 (พศ.2449) เสื้อแขนหมูแฮมนั้นมีมากมายหลายแบบสุดแต่จะประดิษฐ์คิดค้น
ด้านขวาการแต่งกายในพระราชพิธีใหญ่
แขนหมูแฮมแบบต่างๆ
เสื้อแขนหมูแฮมของฝรั่ง
ขาแฮมที่มาของแบบเสื้อ
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์
เสื้อทรงS
ช่วงปี1900 (พศ.2457) แฟชั่นเสื้อมีคอสูงขึ้นและแขนเริ่มลีบลง ในตะวันตกเรียกว่า Alexandra bodice หรือ princess line เกิดจากช่างภาพวาดการ์ตูนล้อเลียน Queen Alexandra ให้มีเอวคอดอกใหญ่เป็นตัว S สมัยนี้นิยมเสื้อที่ผลิตผ้าสีขาวปักลวดลายฉลุลาย
ซ้ายแต่งตามสมัยนิยม
ขวาสำหรับตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจะยุ่งซิ่นเหนือหรือบางครั้งจะนุ่งซิ่นพม่าลุนตยาต่อตีนจก
สมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้า
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์
แบบเสื้อฝรั่งจะเห็นว่าด้านข้างเป็นตัว S
เสื้อคอเว้า
ช่วงปี 1905 (พศ.2462) ปลายรัชกาลเริ่มนิยมเสื้อคอเว้าลึกและความยาวของแขนเสื้ออยู่ระดับศอกแต่มีการระบายลูกไม้ให้ฟูฟ่องส่วนสายสะพายแนบตัวนั้นเริ่มหย่อนลงเนื่องจากความฟูของระบายผ้านั่นเองเรียกว่าสายสะพายแพรและไม่นิยมอัดกลีบผ้า ทรงผมช่วงนี้นิยมตีผมป่องคล้ายมวยญี่ปุ่นและเริ่มมีการไว้ผมยาวบ้างแต่ไม่นิยมเท่าไรนัก
ซ้ายการแต่งกายในวันธรรมดา ขวาเมื่อมีพระราชพิธี
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
แบบเสื้อคอเว้าของฝรั่ง
แบบเสื้อของสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นคาบเกี่ยวกับสมัยรัชกาลที่ 6 และจะนำเสนอให้ศึกษาในครั้งต่อไป
ชุดน่าใส่มากเลยเจ้าค่ะ
ตอบลบ