วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ชุดประจำชาติอาเซียน

ประเทศไทย


         ประเทศเดียวในเอเชียอาคเนย์ที่เป็นเอกราชในยุคล่าอาณานิคม แต่อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยหรือสยามในเวลานั้นได้นำเอาเสื้อแบบตะวันตกมาปรับใช้กับผ้าของตนแทนการแต่งกายแบบดั้งเดิม 
         จากนั้นก็ปรับเปลี่ยนแบบเสื้อเรื่อยมาตามแฟชั่นตะวันตกจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2ก็ไม่มีใครแต่งกายแบบดั้งเดิมอีก การแต่งกายแบบไทยแท้ๆเกือบจะหายไปแต่ด้วยพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถให้รื้อฟื้นรูปแบบการแต่งกายดั้งเดิมผสานกับยุคสมัยใหม่ ออกมาเป็นชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบ
          ในภาพเป็นชุดไทยศิวาลัยหนึ่งในชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบ ชุดไทยศิวาลัยเป็นชุดไทยใส่เสื้อแขนยาวคาดเข็มขัดจะห่มสไบแบบไทยจักรีหรือห่มสะพักแบบไทยจักพรรดิก็ได้ แต่นิยมเป็นสไบปักมากกว่าสไบแถบเรียบๆ


ลาว


              การแต่งกายของลาวเป็นผ้าซิ่น ผ้าซิ่นนั้นอยู่คู่กับชาวลาวมาช้านาน ผู้หญิงลาวต้องฝึกหัดทอผ้าตั้งแต่เล็กๆ ผ้าซิ่นลาวประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่น พื้นซิ่น และตีนซิ่น ส่วนของพื้นซิ่นเป็นส่วนที่กว้างและมีลวดลายสวยงามที่สุด จะทอเป็นลายต่างๆในหลายเทคนิค ชุดลาวที่ใส่กันในปัจจุบันพัฒนามาจากแบบชุดของเจ้านายในหลวงพระบางซึ่งมีเอกลักษณ์ที่ใช้ซิ่นไหมจีนปักลายดอก บางครั้งก็ทอลายยกดอกทั้งผืนซิ่นความยาวของซิ่นอยู่ที่ครึ่งน่อง ห่มสไบทับโดยให้ชายสไบด้านหน้ายาวลงมา

กัมพูชา


            ประเทศที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ การแต่งกายของกัมพูชานั้นได้มีการแลกเปลี่ยนกับประเทศไทยมานานมากโดยเฉพาะช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ในภาพเป็นชุดประจำชาติกัมพูชาท่อบนเรียกSbai หรือสไบนั่นเองท่อนล่างคือ chang kben หรือโจงกระเบน ผ้าที่ใช้นุ่งเรียกว่า Sampot หนือผ้ายกแบบเขมร ผ้านุ่งโจงกระเบนนั้นสมัยโบราณใส่กันเฉพาะผู้ชายเท่านั้นต่อมาชาวเขมรเห็นสตรีไทยนุ่งจึงนุ่งตาม ในปัจจุบันใส่กันในงานเฉลิมฉลองหรืองานแต่งงาน
           ผ้านุ่งโจงกระเบนแบบเขมรนั้นถึงจะมีวิธีการนุ่งเหมือนของไทยแต่ก็แตกต่าง ชาวเขมรจะนุ่งห่มให้รัดรูปเสมอ โจงกระเบนก็เช่นกันจะรัดรูปที่เอวแต่ช่วงน่องจะโป่งออกมาก ตัวเสื้อก็จะตัดให้พอดีถึงแน่นเข้าไว้ ของไทยจะหลวมกว่า


ซ้าย : ชุดแบบต่างๆ
กลาง : สไบปักแบบเขมร
ขวา : เอกลักษณ์ของการแต่งกายแบบเขมรคือลูกไม้ปลายมือ ปะวะหล่ำ และกำไลมือ
ซึ่งไทยเคยใช้สมัยต้นกรุงเทพฯแต่ปัจจุบันไทยไม่นิยมแล้ว

พม่า


            พม่านั้นประกอบไปด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ ชุดที่เป็นชุดประจำชาตินั้นคือ longyi หรือสโหร่ง eingyi หรือเสื้อกับผ้านุ่ง แต่เป็นชุดที่ใส่กันเป็นปกติ
            ในภาพเป็นชุดที่ทำให้เป็นสมัยใหม่จากชุดราชสำนักมัณฑเลย์ เป็นชุดที่ใช้ในพิธีแต่งงานหรืองานพิธีใหญ่ๆ
            เอกลักษณ์ที่เด่นชัดของผ้าพม่าคือผ้านุ่งลายลุนตยาอชิก พม่าออกเสียงว่า โลนต๊ะหย่า แปลว่าร้อยกระสวย เพราะการทอผ้าลายคลื่นนี้ใช้กระสวยหลายสิบอันเลยทีเดียวและใช้เวลาในการทอนานมาก ซิ่นตัวนึงอาจจะใช้คนทอต่อครั้งมากกว่า 2 คนครับ ส่วน อชิค หรือ อะฉิก แปลว่าคลื่น นอกจากจะสื่อถึงท้องคลื่นแม่น้ำอิระวดีแล้วยังแสดงนัยทางพระพุทธศาสนาเรื่องจักรวาลอีกด้วย คลื่นและลวดลายหมายถึงทะเลสีทันดรและเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง 7 รอบเขาพระสุเมรุ


ซ้าย : ผ้าลุนตยาอชิค
รูปที่ 2 : สตรีสมัยมัณฑเลย์
รูปขวา : ชุดพม่าแบบสมัยใหม่

เวียดนาม



            ในภาพเป็นชุด Áo dài   áo แปลว่าชิ้นของเครื่องแต่งกาย dài แปลว่ายาว ชุดนี้พัฒนามาจากชุดในสมัยราชวงศ์ Nguyen ในศตวรรษที่18 รูปทรงจะหลวมๆตัวยาวๆ จนเมื่อเมื่อ80ปีที่แล้ว  Nguyễn Cát Tường ร่วมกับศิลปินได้ออกแบบชุดนี้ใหม่ให้มีความเพรียวกระชับโดยได้แรงบันดาลใจจากแฟชั่นฝรั่งเศสสมัยยุค 1930's และได้รับการขนานนามว่าเป็นชุดประตำชาติของเวียดนามสมัยใหม่ ในช่วงยุค1950's ดีไซน์เนอร์ชาวไซ่ง่อนได้ปรับแบบให้ฟิตขึ้นจนเป็นอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน


ซ้าย : ชุดโบราณสมัยราชวงศ์ ทรงหลวม
รูปที่ 2 : ชุดพิธีการจะมีเสื้อคลุมอีกชั้น
รูปที่ 3 : ชุดแบบภาคเหนือ
ขวา : ชุดแบบภาคใต้ได้รับอิทธิพลของชุดแบบชาวจามคอจะคว้านลึก แต่ปัจจุบันก็ใส่สลับกันไปมา

ฟิลิปปินส์


            ฟิลิปปินส์นั้นไม่มีชุดประจำชาติที่เป็นทางการสำหรับฝ่ายหญิง ส่วนฝ่ายชายนั้นใช้เสื้อ barong tagalog เป็นเสื้อประจำชาติ 
            เนื่องจากเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติมาหลายร้อยปี ชุดของสตรีฟิลิปปินส์นั้นได้รับวัฒนธรรมจากสเปนอย่างเด่นชัด โดยใช้รูปแบบการตัดเย็บแบบสเปนแต่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นคือ ใยกล้วย ใยสัปปะรด 
และฝ้าย 
           ในภาพเป็นชุดที่คนสมัยใหม่เรียกว่า Maria Clara ตั้งตามชื่อตัวเอกในนิยายเรื่อง Noli Me Tangere ซึ่งแต่งโดยวีรบุรุษของชาติ José Rizal เป็นชุดที่ประกอบด้วย เสื้อสั้นแขนทรงระฆังหรือเรียกกันว่าแขนนางฟ้า ผ้าคลุมไหล่ กระโปรงยาวลากพื้น และผ้าคาดเอว ชุดนี้จะพ่ฒนาต่อไปเป็นชุด Terńo ซึ่งเป็นชุดที่เสื้อกับกระโปรงติดกันและมีแขนตั้งเรียกว่าแขนปีกผีเสื้อ


ซ้าย : ชุด Baro't saya แปลว่าเสื้อกับกระโปรง
รูปที่ 2 : ชุด Maria Clara
ขวา 2 รูป : ชุด Terńo 

มาเลเซีย


            เครื่องแต่งกายนั้นแต่ละรัฐจะแต่งกายไม่เหมือนกัน ในภาพเป็นการแต่งกายของเมืองหลวงกัลลาลัมเปอร์ ชาวมาเลย์นิยมใช้ผ้า songket หรือผ้ายกดอกตัดเป็นชุดในงานสำคัญๆ แบบเสื้อที่เห็นเรียกว่าเสื้อ baju kebaya เป็นเสื้อตัวยาวปิดสะโพกและก้น ผ่าหน้าไม่มีกระดุมแต่จะใช้เข็มกลัด3อันกลัดแทนกระดุม และนิยมเสื้อกับกระโปรงเป็นผ้าชนิดเดียวกันสีเดียวกัน


ซ้าย : การแต่งกายรัฐยะโฮร์
รูปที่ 2 : การแต่งกายรัฐเปรัก
รูปที่ 3 : การแต่งกายรัฐปะหัง
ขวา : การแต่งกายรัฐกลันตัน

สิงคโปร์



            ประเทศสิงคโปร์ไม่ได้กำหนดชุดประจำชาติ แต่ถ้าให้เลือกนอกจากชุดจีนกี่เพ้าแล้วก็น่าจะเป็นชุดนี้ Sarong Kebaya 
           ชุดโสร่งเคอบายานั้นเป็นการแต่งกายของชาวเปอรานากันหรือที่คนไทยเรียกย่าหย๋า เปอรานากันแปลว่าเกิดที่นี่ซึ่งย้อนหลังไป400กว่าปีชาวจีนเข้ามาทำการค้าขายและแต่งงานกับหญิงพื้นเมืองจึงก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา ย่าหย๋านั้นใช้เรียกผู้หญิงส่วนบาบ๋าใช้เรียกผู้ชาย ชาวเปอรานากันนั้นกระจุกตัวในเมืองท่าได้แก่ มะละกา ปีนัง ภูเก็ต และสิงคโปร์
          การแต่งกายนั้นสตรีนำแบบเสื้อจีนยาวสมัยราชวงศ์หมิงมาดัดแปลงโดยใช้วัสดุที่บางเบามาตัดเย็บต่อมาจึงมีการเข้ารูป เสื้อเคอบายาแบบย่าหย๋านั้นตัวจะสั้นและบางกว่าแบบมาเลย์ เน้นทรวดทรง และปักเสื้อด้วยลายดอกไม้ต่างๆ นิยมสีสันสดใสและใส่กับผ้านุ่งโสร่งปาเต๊ะสีสดตัดกัน และสวมรองเท้าปักลูกปัด
         สังเกตว่าผ้านุ่งแบบย่าหย๋าตะใช้สีสดเท่านั้นส่วนชาวมาเลย์และอินโดนีเซียจะใช้โทนสีน้ำตาลเป็นหลัก



ซ้าย : ชุดแบบดั้งเดมเรียก Baju Panjang แปลว่าชุดยาว สมัยนี้ไม่มีใครใส่กันจริงจัง
ยกเว้นเป็นชุดออกงาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
รูปที่ 2 : ชุดแต่งงาน จะยืมเอาชุดแบบจีนใต้มาใช้แต่มงกุฏยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมของ
สมัยราชวงศ์หมิง
รูปที่ 3 : ชุดเคอบายา
ขวา : เคอบายาได้รับการออกแบบใหม่โดยปิแอร์ บัลแมง ในชุดยูนิฟอร์มของสิงคโปร์แอร์ไลน์
 จนกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสิงคโปร์

อินโดนีเซีย



            อินโดนีเซียนั้นมีหลากหลายชนเผ่าแต่ละเผ่าก็จะมีชุดประจำเผ่าของตนเองแต่ชุดประจำชาตินั้นยึดเอาแบบราชสำนักชวาโดยใช้เสื้อเคอบายาและผ้าบาติกเป็นชุดประจำชาติ ส่วนผ้าบาติกนั่นเน้นโทนสีน้ำตาล เวลานุ่งจะจีบจีบด้านหน้าเหมือนหน้านางของไทยแต่จีบเล็กกว่าการแต่งกายแบบนี้ใช้ในโอกาสทั่วไปครับ
           การแต่งกายแบบที่กล่าวนั้นเอาแบบอย่างมาจากราชสำนักยอกยาการ์ตาและสุราการ์ตาในชวากลาง ในภาพเป็นชุดที่ใช้กันในพิธีแต่งงานและราชพิธีของราชสำนักชวากลาง ตัวเสื้อสีดำหรือเขียวเข้มอันเป็นสีของศาสนาอิสลามทำจากกำมะหยี่ ปักลายทอง นุ่งกับผ้าบาติกจับจีบ



ซ้าย : ชวากลาง
รูปที่ 2 : สุมาตราเหนือ
รูปที่ 3 : บาหลีเหนือ
รูปที่ 4 : บาหลีใต้

            เกร็ดความรู้: Kebaya เคอบายา (สามจังหวัดภาคใต้จะเรียกว่าเสื้อ บานง)เป็นชื่อเรียกของเสื้อสตรีที่ผ่าหน้าไม่มีกระดุม มีต้นกำเนิดที่ชวา อินโดนีเซียในสมัยอาณาจักรมัชฌปาหิตราวๆศตวรรษที่15 และแพร่หลายจากชวาไปยังดินแดนต่างๆเช่น เกาะบาหลี สุมาตรา มาเลเซีย สิงคโปร์ ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และไทย เวลาสวมใส่จะใช้เข็มกลัดกลัดแทน
เคอบายามีความหลากหลายมากเช่น
       อินโดนีเซีย - เคอบายาของชวาจะฟิตรัดรูปมากราวคอจะเป็นสี่เหลี่ยม ชายเคอบายาจะตกที่ราวสะโพก ทำจากผ้าที่ทึบ ส่วนของบาหลีลักษณะเหมือนของชวาแต่ทำจากผ้าโปร่ง ส่วนของชาวยูเรเซียนเคอบายาจะเป็นสีขาว ของราชสำนักจะเป็นเหมือนในภาพที่ผมวาด
       มาเลเซียและสุมาตรา - เคอบายาจะหลวมแต่เข้ารูปเล็กน้อยมักทำจากผ้าเนื้อหนา ยาวปิดสะโพก ตามหลักศาสนาอิสลามที่จะไม่เน้นสัดส่วน
      ชาวเปอรานากัน (มะละกา สิงคโปร์ ปีนัง ภูเก็ต) - เนื่องจากมีเชื้อสายจีน เคอบายาจะสั้นและบางแนบเนื้อโชว์สัดส่วนที่สวยงามของสตรี เวลาใส่บนตัวจะเห็นเสื้อในอย่างชัดเจน ชายเคอบายาจะตัดเป็นเหลี่ยม มีสีสันสดใสและปักเป็นลวดลายต่างๆ

บรูไน



           ประเทศบรูไนนั้นใช้ชุด Baju Kurung (สามจังหวัดภาคใต้เรียกว่าเสื้อ กูรง)เป็นชุดประจำชาติ ชุดนี้ใช้กันทั่วไปในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยมุสลิม เป็นเสื้อแขนยาวทรงหลวมๆคลุมไปจนถึงหัวเข่า ชาวบรูไนชอบใช้สีสันสดใสแต่ไม่ใช้สีเหลืองเพราะเป็นสีของสุลต่าน โพกผ้าฮิญาบตามหลักศาสนาอิสลาม
          ในภาพนั้นเป็นการแต่งกายของสตรีบรูไนในพิธี Berbedak เป็นพิธีให้พรของญาติๆเจ้าสาวโดยจากมีการลงแป้งและขัดถูทั่วร่างกาย การแต่งกายนั้นแต่งตามแบบโบราณ ชุดที่ใส่ก็คือ Baju Kurung นั่นแหละแต่มีการประดับประดามากขึ้นเท่านั้น


ซ้าย : ผ้า Songket
ขวา : ชุดในพิธี Berbedak

ติมอร์เลสเต (ว่าที่อาเซียน)


            การแต่งกายและลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ เพราะติมอร์เป็นแหล่งทอผ้าที่มีลวดลายและสีสันที่สวยแห่งหนึ่งของโลก
           ผ้าทอของชาวติมอร์ตะวันออกเรียกว่า tais ของผู้ชายจะผืนเล็กกว่าเรียก tais mane ส่วนของผู้หญิงผืนใหญ่กว่าเรียก tais feto การทอผ้าถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ในช่วงที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอินโดนีเซียการทอผ้าพื้นเมืองเป็นเรื่องต้องห้าม แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็เป็นที่แพร่หลายอีกครั้ง ผ้าทอของชาวติมอร์ใช้ฝ้ายอันเป็นมรดกที่ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 และใช้สีธรรมชาติในการย้อมสี เช่น ขมิ้น มะม่วง ใบมันสำปะหลัง เป็นต้น ผ้าทอของชาวติมอร์ใช้เทคนิคที่หลากหลายจึงเป็นที่ต้องการของนักสะสมผ้าทั่วโลก การนุ่งห่มนั้นจะนุ่งเป็นกระโจมอกอาจจะมีผ้าคล้องคอซึ่งนิยมกันไม่กี่ปีมานี้ ใส่เครื่องประดับที่ทำจากปะการัง และเครื่องประดับต่างๆ

เสื้อฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9
การแต่งกายในช่วงต้นรัชกาลยังคงสืบเนื่องมาจากสมัยก่อนหน้าช่วง 10 ปี ก่อนปีพศ.2500 นั้นมีแบบเสื้อและชุดจากต่างประเทศเข้ามามากมาย



ในหลวงกับสมเด็จพระราชินี

ชุดไทยจักรี

            กำเนิดชุดประจำชาติฝ่ายหญิง ช่วงปี พศ.2503 พระนางเจ้าฯทรงให้หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค และอาจารย์ที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ ช่วยกันค้นคว้าและออกแบบชุดไทยที่เหมาะสมกับยุคสมัย เพราะสมัยก่อนหน้าชุดไทยเราเอาแบบเสื้อฝรั่งมาใส่กับท่อนล่างที่เป็นไทยซึ่งไม่เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน จึงได้ชุดไทยออกมา 8 แบบ ภายหลังเรียกกันว่าชุดไทยพระราชนิยม โดยตั้งชื่อตามพระที่นั่งองค์ต่างๆส่วนชุดประจำชาติฝ่ายชายเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2522 เรียกว่าเสื้อพระราชทาน เผยแพร่ครั้งแรกโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์


1 ชุดไทยจักรี-ชุดไทยห่มสไบ
2 ชุดไทยจักพรรดิ-ชุดไทยห่มสะพัก
3 ชุดไทยศิวาลัย-ชุดไทยสวมเสื้อห่มสไบหรือสะพักทับ
4 ชุดไทยดุสิต-ชุดไทยแขนกุด
5 ชุดไทยอัมรินทร์-ชุดพิธีการกลางคืน ไม่คาดเข็มขัด
6 ชุดไทยบรมพิมาน-ชุดพิธีการกลางคืน คาดเข็มขัด
7 ชุดไทยจิตรลดา-ชุดพิธีการกลางวัน นุ่งซิ่น
8 ชุดไทยเรือนต้น-ชุดนุ่งซิ่นลำลอง


เพชรา ชวราษฎร์ ชุดไทยศิวาลัย


พิศมัย วิลัยศักดิ์ ชุดไทยจักรี



อาภัสรา หงสกุล ชุดไทยเรือนต้น

เสื้อฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 8
           กินเวลาถึงปลายสงครามโลกครั้งที่2 ช่วงเวลาที่สำคัญคือยุครัฐนิยม อันจะส่งผลอย่างมากต่อการแต่งกายของชาวไทยจนถึงปัจจุบัน
           รัฐบาลจอมพลป. ออกรัฐนิยมเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการแต่งกายเช่น การให้สวมหมวก การสวมเสื้อและนุ่งกางเกงของผู้ชาย การนุ่งผ้าถุงและกระโปรง สวมรองเท้า ยกเลิกการนุ่งโจงกระเบน ห้ามสตรีตัดผมสั้น(ทรงดอกกระทุ่ม)บางครั่งเรียกช่วงนี้ว่า มาลานำไทยไปสู่อำนาจ แต่หลังจากยุคนี้การสวมหมวกก็หายไปและการนุ่งโจงยังคงมีอยู่บ้างตามชนบทโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยชิน

การแต่งกายยุครัฐนิยม ชุดกลางคืนไม่สวมหมวก

             จะมีท่านๆนึงที่ต้องกล่าวถึงคือสมเด็จฯเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์นรินทรเทพกุมารี กรมหลวงเพชรบุรีราชวิรินธร ภาพนี้ถ่ายสมัยร.6 มนหนังสือสวนสุนันทาในอดีตกล่าวว่า ทรงเป็นบุคคลแรกที่คิดนุ่งถุงสำเร็จ ด้วยพระอุปนิสัยที่นำสมัย ทรงคิดถุงสำเร็จก่อนหน้ายุคจอมพลป. ท่านนำเอาซิปหรือกระดุมมาติดผ้าถุงให้ใส่ง่ายขึ้น



จอมพลป.และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
แสดวการแต่งกายแบบเป็นทางการในสมัยนั้นสวมเสื้อสมัยนิยมกับผ้าซิ่น


แบบทรงผมและหมวกของยุคมามานำไทยเจริญ


สตรีไทยในชุดแบบตะวันตก


ภาพยนตร์เรื่อง ไม่เคยรัก สังเกตว่าคนรุ่นเก่ายังคงนุ่งโจงอยู่ส่วนรุ่นใหม่จะนุ่งกางเกงกับซิ่นตามรัฐนิยม


นางสาวสยาม เป็นการจัดการประกวดสาวงามฉลองงานรัฐธรรมนูญ


แบบชุดสมัยสงครามโลก

เสื้อฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 7

รัชกาลที่ 7
              ช่วงแรกช่วงแรกของรัชกาลนั้นกินเวลาในช่วงกลางยุค 20 (พศ.2468) แบบเสื้อนั้นพัฒนาต่อจากการแต่งกายในปลายรัชกาลที่ 6 แต่มีข้อแตกต่างคือจะนุ่งสั้นกว่าโดยชายซิ่นสูงกว่าพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร หรือาจสั้นกว่านั้น ช่วงปีพศ.2472-2473 ชายผ้าซิ่นนิยมยุ่งยาวอีกครั้ง และนิยมเสื้อแขนกุด เป็นทรงตรงไม่เน้นหน้าอกไม่มีรอยเว้าและสะโพกชายเสื้อมักไปตกที่ราวสะโพก สตรีสมัยนี้นิยมไว้ผมสั้นบ๊อบ ช่วงนี้สตรีไทยเริ่มนำชึดเดรสแบบตะวันตกมาใส่ในตอนกลางวันกันแล้ว

แบบชุดสมัยต้นรัชกาลเสื้อแขนกุดนุ่งซิ่นสั้น


สมเด็จพระปกเกล้าฯกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีในคราวเฉลิมพระราชมณเฑียร


สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีในฉลองพระองค์แบบตะวันตก


ครอบครัวข้าราชกาลสมัยร.7


ชุดเดรสแบบฝรั่ง

ช่วงปลายรัชกาล
            ช่วงปลายรัชกาลนั้นอยู่ในยุค30 ของตะวันตก (พศ.2473) สมัยนี้เริ่มมีการใช้ผ้าใยสังเคราะห์อย่าง ไนลอน เรยอง และมีการใช้ ซิป รูปแบบของเสื้อนั้นเอาแบบอย่างมาจากตะวันตกและใส่กับผ้าถุงแบบไทย โดยจะสังเกตุว่าเสื้อจะมีการเข้ารูปเน้นสัดส่วนมากและส่วนเว้าขยับขึ้นจากราวสะโพกมาที่ราวเอว
ยุคนี้เริ่มมีการนำชุดกลางวันแบบฝรั่งเข้ามาใส่กันแล้ว

สตรีช่วงปลายรัชกาล


สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีในช่วงปลายรัชกาล

เสื้อฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 6

รัชกาลที่ 6

แบบเสื้อในปลายรัชกาลที่5
             แบบเสื้อช่วงแรกยังคงพัฒนาต่อจากสมัยรัชกาลที่ 5 และมีผู้สวมใส่ในช่วงแรกๆและในหมู่ผู้สูงอายุ ลักษณะเป็นเสื้อคอเว้าลึกแต่ข้างในจะเป็นเสื้อคอสูง สะพายผ้าแพร นุ่งโจง

แบบเสื้อสมัยต้นรัชกาล


ซ้าย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี
ขวาบน เจ้าคุณพระประยูรวงศ์
ขวาล่าง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี


แบบเสื้อของฝรั่ง

เสื้อทรงกิโมโน
              ในยุโรปมีกระแสแฟชั่นที่เรียกว่า orientalism ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากศิลปะเอเชียตะวันออกโดยเฉพาะญี่ปุ่น โดยมีดีไซน์เนอร์ Paul Poiret เป็นผู้นำ โดยเฉพาะเสื้อกิโมโน เสื้อในยุคนี้นิยมผ่าหน้าและมีความยาวคลุมสะโพก นุ่งกับโจงกระเบนเอวสูงเหตุที่นุ่งโจงกระเบนเอวสูงเพราะเอวของเสื้อแบบกิโมโนนั้นอยู่สูงอันเป็นกระแสแฟชั่นในยุโรป ภายหลังเมื่อเริ่มนุ่งซิ่นกันความยาวของซิ่นจะสูงประมาณเหนือตาตุ่ม และนิยมเอาสายสร้อยมาคาดผม สายสะพายแพรเริ่มหายไปในช่วงนี้เพราะเสื้อตัวหลวมขึ้น ภายหลังนั้นนิยมนุ่งซิ่นอันแบบพระราชนิยมในร. 6
(เกล้ามวย นุ่งซิ่น และฟันขาวเป็นแบบพระราชนินมของร.6 เรื่องการนุ่งซิ่นนั้นมาทีหลังสุดราวปีพศ.2463 โดยมีพระวรกัญญาปทานเป็นผู้นำความนิยมในการนุ่งซิ่นนั้นจำกัดแค่ในหมู่ชาวราชสำนักและพวกข้าราชการเท่านั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงนุ่งโจงห่มผ้าแถบกันอยู่ ส่วนการไว้ผมยาวนั้นคือไว้ผมให้ยาวกว่าทรงดอกกระทุ่มในร.๕ ซึ่งให้ไว้ยาวดัดลอนออกไปทางฝรั่ง ภายหลังนิยมไว้ผมบ๊อบกันตามอย่างตะวันตก )


ภาพในหนังสือที่ระลึกสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องพระราชนิยมการไว้ผมยาว

ช่วงแรกยังคงไว้ผมยาวดัด


ภายหลังจึงมีการนุ่งซิ่นอันเป็นแบบพระราชนิยมโดยสมบูรณ์


ซ้ายบน
ซ้ายล่าง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา
ขวา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี


ละครพูดเรื่องโพงพาง ราวต้นรัชกาล

พระวรกัญญาปทาน ผู้นำแฟชั่นการนุ่งซิ่น ภาพซ้ายไว้ผมมวยเสียบปิ่น


พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงนุ่งซิ่น


แบบเสื้อคลุมตะโพกของฝรั่ง


แบบเสื้อคลุมตะโพกแต่ 3 ชุดนี้เป็นชุดราตรีชายจะยาวกว่าชุดกลางวัน
สังเกตุว่าทั้ง  3ตัว เป็นเสื้อผ่าหน้าเหมือนกิโมโน

เสื้อทรงถังเหล้า
           ช่วงนี้กินเวลาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คศ. 1918 ถึงประมาณปี 1925 (พศ. 2461-2468) ช่วงนี่นี้สตรีมีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมเพราะผู้ชายต้องออกไปรบในสงครามเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็เรียบง่ายและมีความทะมัดทะแมงมากขึ้นถึงสงครามจะมีแต่ในยุโรปแต่ส่งผลต่อแฟชั่นในประเทศไทยถึงแม้สตรีไทยจะอยู่เย้าเฝ้าเรือนไม่ได้ทำงานแบบสตรียุโรป  แบบเสื้อใหม่นั้นศัพท์แฟชั่นเรียกเสื้อทรงถังเหล้า(barrel shape) ถึงจะมีการเข้ารูปแต่ก็เป็นแบบหลวมๆ ผ้าซิ่นในช่วงนี้จะนุ่งยาวประมาณตาตุ่ม ช่วงนี้   สตรีไว้ผมบ๊อบสั้นกัน
           แบบเสื้อถังเหล้าใส่กันเรื่อยมาจนถึงประมาณกลางยุค 1920 (พศ.2463) เสื้อนั้นจะหลวมมากขึ้นและแจนจะเป็นแขนลำปกปิดหัวไหลเล็กน้อย ระดับของผ้าซิ่นจะค่อยๆสูงขึ้นๆ ช่วงนี้สตรีไทยมีการนำชุดเดรสฝรั่งมาใส่ในงานกลางคืนกันแล้ว

ซ้าย สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์สจี พระวรชายา
ขวา พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทั้งสองพระองค์ทรงชุดแบบตะวันตก

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินประพาสมลายู



แบบเสื้อปลายรัชกาลแขนจะเกือบคลุมไหล่




เจ้าจอมและพระราชธิดาในร.5 สังเกตุว่สคนรุ่นก่อนยังคงขนบเดิมแบบสมัยร.5
ไม่ได้ตามแบบพระราชนิยม



แบบเดรสของฝรั่ง