วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ค่านิยมในปัจจุบัน

               การแต่งกายในยุคปัจจุบันนั้นก็พัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่ต่างจากภาพลักษณ์และค่านิยมของสาวไทย ที่ภายนอกก็พัฒนาตามค่านิยมของคนหมู่มาก

 1. ดวงตาแบบแคนดี้ อาย

ดวงตาแบบแคนดี้อายกำลังเป็นที่นิยมของสาวไทยมาก ดวงตาแบบตาสองชั้นไม่หนามาก ตาหวานๆ เหมือนตากวาง
นิยมติดขนตาปลอมให้ชั้นตาดูหนา และฟุ้ง จะทำให้ตาโต ตาหวาน เทรนด์นี้คาดว่าน่าจะมาจากพริตตี้


2. ผมยาว แสกกลาง (หรือแสกข้างนิด) มีวอลลุ่มตรงปลาย

ผมทรงนี้ เหมือนเป็นสัญลักษณ์ของสาวไทยในยุคนี้เลยก็ว่าได้ เรียกได้ว่าเดินไปมุมไหนของเมืองไทย
ก็จะเห็นสาวไทยทำทรงผมแบบนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหาสาวไทยที่ไว้ผมหน้าม้าน้อยมาก (เมื่อเทียบกับทรงนี้)
ทรงนี้ทำให้หน้าดูเรียวยาว และได้ลุคหวานๆ ธรรมชาติตามสไตล์สาวไทย การแสกกลางเป็นการเพิ่มเนื้อที่ใบหน้าเเนวยาว
ทำให้ใบหน้าแลดูยาวขึ้น คนที่หน้ากลมหน้าสั้น ทำผมทรงนี้ หน้าจะดูยาวเรียวทันที



3. คิ้ว  

ที่เป็นที่นิยม หรือเรียกได้ว่าเป็นซิกเนเจอร์ของสาวไทยก็คือ คิ้วยาวตรง จะเป็นเเนวเฉียงขึ้น หรือ แนวตรงก็ตามความชอบ
ของแต่ละคน สาวไทยส่วนมากนิยมคิ้วที่มีลักษณะ หนา ตรง เหมือนสาวเกาหลี โดยสีคิ้วที่เป็นที่นิยมคือสีน้ำตาล สีคาราเมล
โดยจะเบลน หัวคิ้วให้ฟุ้ง ส่งผลให้ใบหน้าดูอ่อนหวานขึ้นมาทันที



4. ใบหน้ารูปไข่เรียวยาว

ใบหน้ารูปไข่ เป็นเทรนด์กำลังมาแรงของสาวไทยในยุคนี้เลยก็ว่าได้ จะไม่ค่อยเห็นสาวไทยหน้ากลม หน้าเหลี่ยมเท่าไหร่
ใบหน้ารูปไข่ส่งผลให้มีใบหน้าที่สวยได้รูป เรียวยาว ทำผมทรงไหนก็สวยดูดีไปหมด ส่งผลให้สาวไทยอยากมีใบหน้า
เรียวยาวแบบนี้ที่สุด ซึ่งการฉีดโบท๊อกซ์และฟิลเลอร์ เป็นทางเลือกที่สาวไทยนิยมใช้ในยุคนี้


และค่านิยมในปัจจุบัน ที่ต้องขาว สวย หมวย อึ๋มแบบพริตตี้ เพื่อที่จะทให้คนมาสนใจนั้น ทำให้เด็กไทยเป็นจำนวนมากทำตามสาวๆพริตตี้พวกนี้

**ภาพพริตตี้ที่ชมต่อไปนี้ค่อนข้างหล่อแหลม เด็กที่อายุต่ำกว่า18ปีควรมีผู้ปกครองให้คำปรึกษา**














พริตตี้มอเตอร์โชว์ 2013


พริตตี้สาวในงานมอเตอร์โชว์

ดังนั้นเราควรจะสร้างค่านิยมใหม่ๆให้กับเยาชนไทยในปัจจุบัน ดังในสมัยก่อนที่แต่งกายเรียบร้อยรักนวลสงวนตัว แต่ต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัยด้วย



แบบทดสอบ รัชกาลที่ 1 และ 2

แบบทดสอบที่ 3
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
สามารถดาวโหลดเอกสารได้ที่
 

หากต้องการเฉลยสามารถใส่อีเมลล์ไว้ที่ช่องคอมเมนท์ได้ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบการแต่งกายของไทย

แบบทดสอบที่ 2
จงจับคู่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการแต่งกายของไทยให้ตรงกับรัชกาล
สามารถดาวโหลดเอกสารได้ที่
 
หากต้องการเฉลยสามารถใส่อีเมลล์ไว้ที่ช่องคอมเมนท์ได้ค่ะ


ชุดการแสดงอาเซียน 10 ประเทศ




ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมประเพณีจึงมีความเกี่ยวข้อง กับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนในประเทศ ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่                  
     * ระบำอัปสรา (Apsara Dance)   เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา ซึ่งถอดแบบการ แต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด
 นางอัปสราตัวเอกองค์แรก คือ เจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อ เข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้น ระบำอัปสรา ก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้ เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่า เป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัยนครวัด เป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็น ระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียง ขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความ เคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต ดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วน ใหญ่ในปราสาทนครวัดคือ ดอกฉัตร พระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูง ของเขมรคงประดับ ศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสรา ที่พบ ในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง 


    เทศกาลน้ำ (Water festival) หรือ “บอน อม ตุก” (Bon Om Tuk) เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณของ แม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์ มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุดอกไม้ไฟ การ แสดงขบวนเรือประดับไฟ เและขบวนพาเหรด บริเวณทะเลสาบ "โตนเลสาบ" ที่จัดขึ้น ทุกปีตั้งแต่ วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือน
พฤศจิกายน ซึ่งทางการกัมพูชา ประกาศให้เป็น วันหยุด 3 วัน เพราะน้ำในแม่น้ำโขงเมื่อขึ้นสูง จะไหลไป
ที่ทะเลสาบ เนื่องจากในช่วงปลาย ฤดูฝนในเดือนพฤศจิกายน น้ำในทะลสาบลดต่ำลง ทำให้น้ำไหลลง กลับสู่ลำน้ำโขงอีกครั้ง ชาวกัมพูชาจะร่วมกันลอยทุ่นที่ประดับด้วยดวงไฟ ไปตาม แม่น้ำโขง ขณะที่การ
แข่งเรือ เป็นการรำลึก ถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ช่วงศตวรรษที่ 12 ในยุคเมืองพระนคร อาณาจักรเขมรที่กำลังรุ่งเรืองมีชัย เหนืออาณาจักรจาม ในการสู้รบ ทางเรือ
345
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศบรูไน
บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และการแต่งกาย ที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามด้วย เช่น
1สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ควรนุ่ง กระโปรงสั้น และใส่เสื้อไม่มีแขน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทาย จะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่ จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
  • 1การรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน โดยเฉพาะคู่เจรจาที่เป็นชาวมุสลิมควรระมัดระวังการสั่งอาหาร ที่เป็นเนื้อหมูและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากผิดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ไม่รับประทานเนื้อหมู และถือเป็นกฏที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในการห้ามดื่มสุรา อาจขอให้ คู่เจรจาชาวบรูไนช่วยเลือกร้านอาหาร ทั้งนี้บรูไนไม่มีวัฒนธรรมการให้ทิปในร้านอาหาร ในกรณีที่เป็น ร้านอาหารขนาดใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการ เพิ่มร้อยละ 10 อยู่แล้ว

2
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์          วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจาก สเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่            

– อาติหาน (Ati - Atihan)
         
   * เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
    
     * เทศกาลดินาญัง (Dinayang)        







– อาติหาน (Ati - Atihan)
          จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ “เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะ แห่งหนึ่งใน ฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบ  *เทศกาลอาติชนเผ่า เอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมือง
คาลิบู (Kalibu)
     















* เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
          งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือน มกราคมทุกปี
ี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino)
โดยจะจัดแสดงดนตรีและ มีขบวนพาเหรดแฟนซี ทั่วเมือง เซบู (Cebu)
  







* เทศกาลดินาญัง (Dinayang)
          งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะ จัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมือง อิโลอิโย (Iloilo)

ลปวัฒนธรรมและประเพณีของพม่า
          เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของ ตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น
          * ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรืองานบวชลูกแก้ว  เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และ ชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว
          * งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษาถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนาน และได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย 
8 2
1
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของเวียดนาม
          ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของเวียดนามจะได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส เวียดนามมีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่
          * เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)” หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็น เทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุดดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อ ในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย
          * เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน
หรือบันตรังทู ทีมีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ จะมีการเฉลิมฉลองกับขนมเค้กสำหรับเด็กและครอบครัวของพวกเขาที่ดูดวงจันทร์ ขบวนของโคมไฟและโคมไฟ ดวงจันทร์จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับความเจริญรุ่งเรือง; ในช่วงเทศกาลจะมีกล่องเค้กในรูปร่างของดวงจันทร์
(Banh Trung พฤ.) เพื่อเพื่อนและครอบครัว ในเวลากลางคืนเด็กจะเดินขบวนในถนนร้องเพลงในขณะที่ส่งมอบโคมไฟจีนสีในมือ โคมไฟ เหล่านี้จีนมีเทียนที่ส่องสว่างสวยงามตามท้อง
ถนน
1
2 3

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของเวียดนาม

มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป
          * วายัง กูลิต (Wayang Kilit)  เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการ แสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วย หนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
          * ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหล มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
          * ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ   เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการ ให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุม ศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่ง ให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง 
1
2
1
          

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของสิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา ทำให้ประเทศนี้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลาก หลาย สำหรับเทศกาลที่สำคัญของสิงคโปร์ก็จะเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาเช่น  
   * เทศกาลตรุษจีน          เทศกาลปีใหม่ของชาวจีนที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์                  
  * เทศกาล Good Friday    จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนของชาวคริตส์ใน เดือนเมษายน
   * เทศกาลวิสาขบูชา     จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าของชาวพุทธ ในเดือนพฤษภาคม
   * เทศกาล Hari Raya Puasa    เทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมที่จัดขึ้นเมื่อสิ้นสุดพิธีถือศิลอดหรือ รอมฏอนในเดือนตุลาคม
   * เทศกาล Deepavali   เทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู ที่จัดขึ้นเดือน พฤศจิกายน 
1
2

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
ของมาเลเซีย

ด้วยเหตุที่มีหลายชนชาติอยู่รวมกันทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายผสมผสานกัน ซึ่งมี ทั้งการผสานวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่
        * การรำซาบิน (Zabin)   เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการ ฟ้อนรำที่ได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์ แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
        * เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan)   เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือน พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการ ทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วย 
1
2
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณของลาว                วัฒนธรรมของลาวจะมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทางภาคอีสาน ของไทยมาก
          ด้านดนตรีแคน ถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ โดยมี วงดนตรีคือ วงหมอลำ และมีรำวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ
          * การตักบาตรข้าวเหนียว
          ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อ ถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า “ถวายจังหัน” โดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิง ต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สำหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน
67
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของไทย
ได้รับอิทธิพลจากมอญ ขอม อินเดีย จีนและชาติตะวันตก แต่มีเอกลักษณ์ในด้านความงดงาม ประณีต และผูกพัน อยู่กับพระพุทธศาสนา
    *  การไหว้   เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมี สัมมาคารวะและให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทาย การไหว้ยังมีความหมายเพื่อการขอบคุณ ขอโทษ หรือ กล่าวลาด้วย
    *  โขน   เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทำนองเพลง ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจาส่วนเรื่อง ที่นิยมแสดงคือ รามเกียรติ์
   *  สงกรานต์   ประเพณีเก่าแก่ ซึ่งถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการ รดน้ำ ขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการเล่น สาดน้ำเพื่อความสนุกสนานด้วย 

การแต่งกายในปัจจุบัน

                หากในปี 2013 ยังอินเทรนด์ไม่พอ มาเริ่มที่ 2014 เลยกันดีกว่า เหล่าแบรนด์ดีไซเนอร์ชั้นนำต่างพาก็ออกคอลเลคชั่นเสื้อผ้าใหม่ๆไม่เว้นแต่ละวัน แต่ว่าเราลองมาดูแบบที่นิยมสำหรับเหล่าดีไซเนอร์กันดูบ้างว่า “พวกเขา” นิยมออกแบบอะไรออกมา ที่เห็นบ่อยมากที่สุด และสิ่งที่กำลังจะมาคือการประยุกต์ของเดิมที่มีอยู่ใช่หรือไม่ ลองมาติดตามกันดู

1. เสื้อลายทาง & ลายตาราง
ไม่ว่าปีไหนๆก็ออกมาได้ทุกปีสำหรับเสื้อลายตารางและลายทาง เป็นเทรนด์ที่เรียกได้ว่าเซฟโซนสุดๆสำหรับใครที่คิดไม่ออกว่าจะใส่อะไร แต่เดี๋ยวก่อนลายทางของคุณไม่ควรที่จะเหมือนเดิมอีกต่อไป มักจะต้องมีอะไรที่แปลกใหม่กว่านั้นในปี 2014

- การพิมพ์ผ้าและการวางลายที่แตกต่างออกไป


2. ลายทหาร Re-mix (ทหารแตกแถว)
แน่นอนว่าต้องไม่ใช่เสื้อลายทหารธรรมดาอีกต่อไปมันจะต้องมีอะไรบางอย่างมาเบรกให้สนุกมากยิ่งขึ้นไปอีก เรียกได้ว่าเป็นทหารแตกแถวก็ว่าได้




3. เมทัลลิค แวววาว
อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตาคือ แฟชั่นเมทัลลิค ที่ให้ความหรูหรา และโดดเด่น





คลิกชมภาพต่อไป





4. เดนิมประยุกต์
เดนิมอย่างเดียวดูท่าจะจืดเกิดไปแล้วสำหรับเหล่าดีไซเนอร์ จะต้องมีอะไรที่สนุกมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มสีสันให้กับ แฟชั่นเดนิมสุดเก๋ของคุณ



 


 



5. เทรนด์ผ้าตัดต่อ
แน่นอนว่าผ้าเรียบมันดูปกติเกินไป ลองมาดูอีกเทรนด์แฟชั่นที่เป็นที่นิยมของเหล่าดีไซเนอร์




bespoken-spring-summer-2014-nyfw21


bespoken-spring-summer-2014-nyfw11

BESPOKEN SPRING/SUMMER 2014